บทความ / อาหารบำรุงและทำลายกระดูก
Health
อาหารบำรุงและทำลายกระดูก
10 มิ.ย. 63
6,964
รูปภาพในบทความ อาหารบำรุงและทำลายกระดูก

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นั้น ดีต่อร่างกายเสมอ โดยเฉพาะอาหารที่ส่งเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย แต่หลายครั้งที่มีอุบัติเหตุมักจะได้ยินหรือเห็นผู้ประสบภัยมีอาการกระดูกหัก ซึ่งบางครั้งเกิดจากภาวะกระดูกบาง

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น...?

  1. มวลกระดูกของมนุษย์ประกอบด้วย แคลเซียม (Calcium) 70% และคอลลาเจน (Collagen) 30% 
  2. กระดูกมนุษย์มีกระบวนการสร้างและสลายตลอดเวลา
  3. ออสติโอบลาสต์ (Osteoblast) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างมวลกระดูกด้วยการเอาแคลเซียมและสารอาหารไปให้กระดูก
  4. ออสติโอคลาสต์ (Osteoclast) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก 
  5. การสลายกระดูกจะเกิดขึ้นเมื่อแคลเซียมในเลือดไม่สมดุล ขาดหรือต่ำ ร่างกายจะมีกระบวนการสลายแคลเซียมจากกระดูกมาให้เลือดเพื่อรักษาสมดุล
  6. การสลายกระดูกส่งผลให้กระดูกมนุษย์บางลง ทำให้กระดูกหักได้ง่ายหากประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลถึงกระดูก

คนเราต้องการแคลเซียมเท่าไหร่...?

  1. มนุษย์ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป การดูดแคลเซียมจะเริ่มลดลงทุกปี ๆ ละ 1%
  2. ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทอง จะมีความเสี่ยงพบกับภาวะกระดูกบางมากขึ้น
  3. ความต้องการแคลเซียมของแต่ละวัยไม่เหมือนกัน โดยวัยผู้ใหญ่อยู่ที่ 800 มิลลิกรัมต่อวัน และวัยผู้สูงอายุอยู่ที่ 1,000 - 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน
  4. ความต้องการแคลเซียมในร่างกายของคนไทยไม่สัมพันธ์กับการบริโภคแคลเซียม โดยพบว่า คนไทยบริโภคแคลเซียมน้อยกว่าความต้องการในแต่ละวันถึง 50%

อาหารที่เสริมสร้างความแข็งแรงและสลายกระดูก

  1. อาหารที่ส่งเสริมแคลเซียมให้กับกระดูก คือ นม, ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง, อัลมอนด์, ปลาเล็กปลาน้อย, ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ปวยเล้ง หรือคะน้า, โยเกิร์ต, วิตามินดี (D) และ วิตามินเค (K)
  2. อาหารที่ส่งเสริมการสลายแคลเซียมในกระดูก คือ น้ำอัดลม, น้ำหวาน, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์,กาแฟ, น้ำ RO, การกินโปรตีนและเนื้อสัตว์มากเกินไป รวมถึงการบริโภคอาหารที่มีรสชาติหวาน
  3. วิตามินดี (D) มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารในบริเวณลำไส้ไปยังเลือด กว่า 80% ของวิตามินดีสามารถสังเคราะห์ได้จากรังสียูวีที่มีอยู่ในแสงแดด โดยเฉพาะแดดเวลา 12.00 - 14.00 น. ซึ่งมีงานวิจัยรองรับจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  4. วิตามินเค (K) ทำหน้าที่ดึงแคลเซียมที่อยู่ในเลือดไปยังกระดูก

แคลเซียมกับใบยอ

ใบยอ ขึ้นชื่อว่ามีปริมาณแคลเซียมสูงมาก แต่ร่างกายมนุษย์ดูดซึมแคลเซียมจาก  ใบยอได้น้อยมากเพียง 5% เท่านั้น สาเหตุที่ดูดซึมแคลเซียมจากใบยอได้น้อยเพราะใบยอเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) หากกินแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) ในปริมาณมาก จะส่งผมเสียงต่อร่างกาย โดยจะตกตะกอนและเกิดเป็นนิ่วในไตได้ กรณี “ห่อหมกใบยอ” สามารถกินได้ตามปกติ เพราะความร้อนได้สลายแคลเซียมชนิดนี้ออกไปแล้ว แต่ก็ไม่ควรกินในปริมาณมาก

ข้อมูลโดย: ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ | วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

ฟัง Podcast

Website | https://bit.ly/37dZo20

Apple Podcast | https://apple.co/2AhvUUV

Spotify | https://spoti.fi/2XLTkLd

Soundcloud | https://bit.ly/3f3hOoX

Google Podcast | https://bit.ly/3cOpMR6

Application | Thai PBS Podcast  >> สแกน QR Code ที่นี่ 

 

แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป