กลศาสตร์ควอนตัมในหลายแง่มุม จากหลายแนวคิดทำให้เกิดการตีความที่ต่างกันไป นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำอธิบายเป็นปรัชญาทางวิทยาศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ จนเกิดการโต้แย้งกันของนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่หาคำตอบมาแย้งกับแนวทางการตีความของอีกกลุ่ม การตีความแต่ละแบบมีแนวคิดอย่างไรบ้าง ทำไมถึงไม่มีแนวทางเพียงหนึ่งเดียว ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ จะมาอธิบายใน Sci & Tech ตอนนี้
เจ้าของแนวคิดกลศาสตร์ควอนตัม "แมวของชเรอดิงเงอร์" และสมการที่ปรากฏในตำราเรียนฟิสิกส์ที่ทุกคนต้องได้เรียน นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรียที่ฉายแววตั้งแต่เด็กจนเชี่ยวด้านทฤษฎี สนใจทั้งศาสตร์และศิลป์อย่างปรัชญาตะวันออก ชีวิตที่ตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต้องเขียนงานวิจัยส่งตีพิมพ์จากสนามรบ รวมถึงชีวิตที่ผาดโผนในระหว่างการคิดค้นทฤษฎี จนได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งในแนวคิดของกลศสาตร์ควอนตัมเป็นอย่างไร ฟังเรื่องราวของ แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ (Erwin Schrodinger) กับ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ใน Sci & Tech
ชีวิตของนักวิทยาศาสตร์ที่ถูกขนานนามว่า เดินทางไปที่ไหนมีเรื่องที่นั่น เช่น การทำทดลองพัง ไฟดับ จนถูกแซวว่ามาพร้อมกับลางร้ายโดยที่ไม่ได้แตะต้องใด ๆ แต่อีกทางหนึ่ง เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ค้นพบหลักการกีดกันทางกลศาสตร์ควอนตัม และยังได้รับจากไอน์สไตน์ว่างานวิจัยของเขาสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติ ชวนฟังเรื่องราวของ ว็อล์ฟกัง เพาลี (Wolfgang Pauli) ใน Sci & Tech ตอนนี้
แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก (Werner Heisenberg) หนึ่งในผู้เสนอแนวคิดกลศาสตร์ควอนตัมเกี่ยวกับ "หลักความไม่แน่นอนทางควอนตัม" ที่ถูกนำมาใช้ในการออกแบบเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน การจากปลีกตัวไปใช้ชีวิตบนเกาะ Heligoland เพื่อหาคำตอบจนได้ "กลศาสตร์เมทริกซ์" มานำเสนอสู่นักวิทยาศาสตร์ ชวนฟังเรื่องราวของนักวิทยาศาสตร์สุดโรแมนติก และบทเรียนชีวิตที่เรียนรู้ได้จากไฮเซนแบร์ก กับ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ
เรื่องของดาราศาสตร์ที่เป็นมากกว่า การสำรวจอวกาศ การดูดาวหรือวัตถุบนท้องฟ้า ชวนมองให้ลึกเข้าไปถึงกำเนิดดวงดาวที่มีความเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม ตั้งแต่สิ่งเล็ก ๆ จนถึงจักรวาลที่กว้างใหญ่ ทั้งการเกิดของดาวฤกษ์ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน พัฒนาการของดวงดาว และกำเนิดจักรวาล
ภาคต่อของแนวคิดและปรากฏการณ์สำคัญในทฤษฎีควอนตัม ที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ไปนำเสนอถึงความเป็นไปได้และอธิบายผ่านการทดลอง หนึ่งในแนวคิดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเรื่องหนึ่งคือ "แมวของชเรอดิงเงอร์" ที่อธิบายหลักการเมื่อมีแมวตัวหนึ่งอยู่ในกล่อง แนวคิดนี้มีความสำคัญต่อกลศาสตร์ควอนตัมอย่างไร ชวนฟังใน Sci & Tech ตอนนี้
จุดเริ่มต้นของแนวคิดที่สำคัญของทฤษฎีควอนตัม จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้เวลาหาคำตอบ ก่อนเสนอแนวคิดของพวกเขาจนเป็นที่ยอมรับและยกให้เป็นแนวคิดสำคัญของกลศาสตร์ควอมตัม ซึ่งไม่ได้มีแนวคิดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น เพราะอะไร ชวนหาคำตอบใน Sci & Tech ตอนนี้
ย้อนประวัติศาสตร์การกำเนิดแนวคิด ทฤษฎีควอนตัม จุดเริ่มต้นของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในวงการฟิสิกส์จากเรื่องที่เป็นปริศนา มีนักวิทยาศาสตร์เสนอแนวทางที่แตกต่างกันนำมาสู่การถกเถียง กลายเป็นแนวทางสู่กลศาสตร์ควอนตัมที่ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมา
- ประชาชนในรัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐฯ ฟ้องบริษัททำเหมืองคริปโตข้อหาทำลายสิ่งแวดล้อม จากการใช้โรงผลิตไฟฟ้าเก่ามาสร้างพลังงานเพื่อการขุดเหรียญคริปโต
- สิ่งที่คาดหวังว่าจากปราโบโว ซูเบียนโต ผู้นำคนใหม่ของอินโดนีเซีย
#เก็บตกจากเหมืองแร่ หนังสือรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับการเขียนและการทำงานในเหมืองแร่ของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ มาตลอดชีวิตการเขียนงานชุดเรื่องสั้นเหมืองแร่ และ #ในเหมืองแร่มีนิยาย รวบรวมผลงานเขียนนวนิยายทั้ง 5 เรื่อง ประกอบด้วย ได้แก่ ในเหมืองแร่มีนิยาย, แผ่นดินแร่, เลือดในดิน, ใต้แผ่นดิน และเหมืองทองแดง
หนังสือทั้งสองอยู่ในโครงการจัดพิมพ์ผลงานชุด #อาจินต์ศึกษา ที่นำเสนอให้เห็นถึงคุณค่าและพัฒนาการทางการเขียนของคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนคนสำคัญของวรรณกรรมไทย #หลบมุมอ่าน จึงเชิญคุณวีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์ บรรณาธิการ มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือทั้งสองเล่มและเล่มอื่นในชุด “อาจินต์ศึกษา”
ดีบุก คือโลหะที่หลอมเหลวได้ง่าย พบในโลหะผสมหลายชนิด และถือเป็นโลหะที่มีส่วนช่วยในการก่อร่างสร้างเมืองหลาย ๆ เมือง เช่น พังงา และ ปีนัง ซึ่งประเทศไทยมีประวัติศาสตร์การทำเหมืองแร่ดีบุกมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
.
เที่ยวมีเรื่องกับหมอบัญชา ครั้งนี้ชวนไปตามรอย ดีบุกที่มาเลเซียกัน
หากมองย้อนกลับไป พื้นที่จังหวัดชลบุรีถือเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการติดต่อค้าขาย โดยพื้นที่แห่งนี้มีการทำอุตสาหกรรมเหมืองทอง ป่าไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าขุนมูลนายได้มีการตั้งกิจการค้าไม้เกิดขึ้นอีกด้วย เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล การค้าขายกับต่างชาติถือว่ามีความสำคัญ โดยได้ค้าขายกับจีน อินเดีย และชาติตะวันตก
"ห้องเรียนวิทยาเขาคูหา" คือการเรียนรู้นอกห้องเรียนของน้อง ๆ โรงเรียนสิริวัณวรี 2 ที่เขาคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมเคยเป็นเหมืองหินมากก่อน ต่อมาชาวบ้านได้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องธรณีวิทยา เพราะที่นี่มีแร่ธาตุหลายชนิด