“การแสดงพระกระยาหารครั้งสุดท้ายช่วงพิธีเปิดโอลิมปิกปี 2024 โดยกลุ่ม Drag ได้ทำให้ชาวคริสต์ทั่วโลกขุ่นเคืองอย่างหนัก”
.
หนึ่งในจดหมายทักท้วงไปยังคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ลงนามโดย บิชอปทั้ง 14 ของศาสนจักรคอปติกออร์โธด็อกซ์แห่งอเล็กซานเดรียในอเมริกาเหนือ ภายหลังพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส ที่กลายเป็นประเด็นดรามาถึงผู้จัดงานว่าพยายามชูความเท่าเทียมทางเพศอย่างสุดโต่งหรือไม่
.
ไม่นับรวมโควตาเท่าเทียมนักกีฬาชายหญิง 50:50 เป็นครั้งแรก สถิตินักกีฬา LGBTQIAN+ มากที่สุด การแจกถุงยางอนามัยในหมู่บ้านนักกีฬามากกว่า 2 แสนชิ้น กลายเป็นคำถามว่านี่เป็นการจัดแข่งขันกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติอยู่หรือไม่
.
แล้วใครกันที่กำหนดว่า “กีฬา” กับ “เพศ” ไม่เกี่ยวข้องกัน “เพศสนิท” ชวนทำความเข้าใจกับ มะปราง-จิราเจต วิเศษดอนหวาย กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก และผู้ให้คำปรึกษาแนวเฟมินิสต์ ใน The Active Podcast EP.202 | แดร็ก ถุงยาง นักกีฬาข้ามเพศ ดรามา “โอลิมปิก 2024”
- สิงคโปร์ถือเป็น 1 ในประเทศอนุรักษ์นิยมแห่งหนึ่งของโลก ทำให้เส้นทางชีวิตของคนข้ามเพศในประเทศนี้ยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรค
- 1 ใน 3 ประเทศทั่วโลกยังคงมีกฎหมายเอาผิดคนรักเพศเดียวกัน โดยในบางประเทศมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต
หลบมุมอ่านต้อนรับ #PrideMonth ชวน อาทิตยา อาษา ผู้ประสานงานเครือข่ายทอม ผู้ชายข้ามเพศ นอนไบนารี่ เพื่อความเท่าเทียม ( #TransEqual ) มาร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ ผู้ชายข้ามเพศในกระบวนการเคลื่อนไหว LGBTIQAN+, การทำงานของกลุ่ม TransEqual เพื่อสร้างเครือข่ายของคนมีเพศกำเนิดเป็นผู้หญิงแต่ไม่ได้รับรู้ตัวตนว่าตัวเองเป็นผู้หญิงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค, ประสบการณ์การเป็นผู้ชายข้ามเพศของอาทิตยา อาษา, การขับเคลื่อนที่ผ่านมาและในปัจจุบันของ TransEqual เรื่องการสมรสเท่าเทียมและสิทธิด้านอื่นจากสนามการทำงาน รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงปัจเจกและเชิงนโยบายที่ครอบคลุมมิติต่าง ๆ ต่อเรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย
หากแบ่งเพศตามเพศสภาพกำเนิดของมนุษย์ โลกนี้มีเพียงแค่เพศชายและหญิงเท่านั้น แต่ปัจจุบันอัตลักษณ์ทางเพศมีค่อนข้างหลากหลายที่เรารู้จักในชื่อ LGBTQ+ ซึ่งเป็นลักษณะความชื่นชอบตามรสนิยมเกี่ยวกับเพศของแต่ละคน ปัจจุบันมีการจัดกลุ่มเพื่อให้ความหมายในความชื่นชอบรสนิยมทางเพศ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบการใช้ชีวิตและการปฏิสัมพันธ์ แต่มีคำถามที่ว่า กลุ่ม Heterosexual ซึ่งเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบเพศตรงข้าม สามารถเปลี่ยนแปลงหรือมีความรักกับเพศเดียวกันได้หรือไม่ รายการ โรงหมอ
นอกจากจับตาลุ้น สมรสเท่าเทียม แล้ว อีกหนึ่งในนโยบายสำคัญ แต่อาจจะไม่ถูกพูดถึงมากนัก คือ การประชุมแนวทางในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง 30 บาท” เพื่อการผ่าตัดแปลงเพศ กำหนดการให้บริการ ผู้ที่เข้าเงื่อนไข และจะมีบริการอะไรบ้าง จะมีมาตรฐานอย่างไร
.
ชวนคุยกับ ณชเล บุญญาภิสมภาร ประธานมูลนิธิซิสเตอร์ พร้อมทำความเข้าใจว่า “การข้ามเพศ” เป็นการเสริมความงาม หรือการเติมเต็มความเป็นตัวเอง ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องจัดเป็นสวัสดิการรองรับ ใน The Active Podcast EP.172 | ผ่าตัดแปลงเพศ เสริมความงาม หรือเติมเต็มความเป็นตัวเอง
"ฉันยอมติดคุกดีกว่า ถ้าต้องเรียกผู้หญิงข้ามเพศว่าผู้หญิง"
.
ไม่ใช่ครั้งแรกที่ เจ.เค โรว์ลิง ผู้ให้กำเนิดจักรวาลโลกเวทมนตร์ Harry Potter ออกมายืนยันหลักคิดต่อต้านแนวคิดที่เสนอให้เรียก "ผู้หญิงข้ามเพศ" ว่า "ผู้หญิง" ซึ่งอาจหมายรวมถึงการไม่ยอมรับกฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศด้วย
.
เพศสนิท ชวนถอดความหมายจากข้อความของ เจ.เค. โรว์ลิง ซึ่งอาจเป็นตัวแทนของคนในสังคมจำนวนไม่น้อยที่ยังเชื่อว่า โลกใบนี้มีแค่ชาย-หญิง และอาจนำไปสู่มายาคติการเกลียดกลัวคนข้ามเพศ (Transphobia) กับ ผศ.รณภูมิ สามัคคีคารมย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อน ร่าง พรบ. รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพฯ ภาคประชาชน (GEN - ACT) ใน The Active Podcast EP.163 | ฉันก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง
คนที่มีรสนิยมทางเพศไม่ตรงกับเพศสภาพ ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมจีน แม้ปัจจุบันสถานการณ์จะคลี่คลายกว่าในอดีตมากแล้ว เพราะคนกลุ่มนี้เปิดเผยตัวเองได้มากขึ้นแต่ก็ยังไม่อาจแสดงออกหรือสะท้อนความต้องการผ่านการแต่งกายได้อย่างเต็มที่
โสภิต หวังวิวัฒนา ชวน รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ที่ปรึกษาศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิเคราะห์ว่าพวกเขาได้รับแรงกดดันมากน้อยเพียงใดภายใต้สังคมจีนที่ยังมีค่านิยมชายเป็นใหญ่และได้รับอิทธิพลจากลัทธิเต๋าและขงจื่อมานานหลายพันปี ทำไมคนข้ามเพศในจีนจำนวนไม่น้อยมีความใฝ่ฝันจะเดินทางมาใช้ชีวิตในเมืองไทย
สาวข้ามเพศในสหรัฐฯ ยื่นฟ้องศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางว่ากองประกวดนางงามระดับชาติ กีดกันไม่ยอมให้เธอร่วมเวทีประกวดนางงาม แต่ศาลตัดสินว่ากองประกวดสามารถทำได้ เนื่องจากเวทีดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อสื่อถึง "ความหมายของการเป็นผู้หญิงโดยกำเนิด"
คำประกาศก้องของศิลปินข้ามเพศ เจินเจิน บุญสูงเนิน เมื่อ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา “ฉันก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง”
ชวนให้คิดถึงเสียงของผู้คนที่มีหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่ส่งผ่านเพลงดนตรีในภูมิภาคอาเซียนนี้บทบาทหน้าที่ของดนตรีไม่ใช่เพียงเพื่อความสุขสนุกสนานบันเทิงหรือเพื่อความเป็นศิลปะอันสวยงามบริสุทธิ์แต่ยังคงเตือนให้เราได้คิดถึงชีวิตของคนที่อยู่ร่วมกันในโลกใบนี้เสียงเพลงของคนที่เป็นเพศหลากหลาย
บทเพลงเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตนอารมณ์ความรู้สึกที่เรียกว่าสุขทุกข์และความหวังของคนที่เป็น LGBTQ ในภูมิภาคอาเซียนเป็นอย่างไร น่าจะถึงเวลาเปิดหูและเปิดใจในการรับฟังกันด้วยโดยเฉพาะในเดือน Pride Month ที่มีความหมายต่อการสร้างความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศไพรด์พาเหรดเพลงอาเซียนครั้งนี้ชวนมาฟังถ้อยแถลงของยายจิ้น ตลกหมอลำเสียงอีสาน, เจินเจิน บุญสูงเนิน, สาลิกา กิ่งทอง, ศิลปินทรานส์ฟิลิปปินส์ Jake Zyrus ชื่อเดิม Charice Pempengco, ศิลปินเควียร์มาเลเซีย Alextbh และศิลปินเควียร์-แอคทิวิสต์บาหลี Kai Mata ร่วมขับขานเสียงสะท้อนความมุ่งหวังในการยอมรับความเสมอภาคของมนุษย์ทุกเพศพันธุ์ในโลกนี้
สำรวจประเด็นเรื่องการข้ามเพศในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ถึงบริการสุขภาพ กฎหมาย และข้อจำกัดว่าเป็นอย่างไร หากกลุ่มเด็กต้องการข้ามเพศ
สร้างประวัติศาสตร์ นักกีฬาข้ามเพศคนแรก ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ โตเกียว 2020 ณ ประเทศญี่ปุ่น กับข้อถกเถียงที่ไม่จบสิ้น ว่าเป็นธรรมกับผู้แข่งขันชาย-หญิงแค่ไหน
ติดตามก้าวต่อไปของสิทธิความหลากหลายทางเพศ กับความก้าวหน้าในการผลักดันกฎหมายเปลี่ยนแปลงคำนำหน้านาม โดยความร่วมมือของหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ การเมือง และประชาสังคม
แคมเปญชิ้นใหม่หนุนวัยรุ่นเข้าถึงถุงยางอนามัย แต่ยืนยันไม่ใช่การสนับสนุนการมีเซ็กซ์ในวัยเรียน คุยกับ ชาติวุฒิ วังวล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กับแคมเปญล่าสุด ที่เน้นผู้ใหญ่ช่วยดูแลวัยรุ่นให้มีชีวิตทางเพศที่ปลอดภัย
ประจำเดือน เรื่องแสลงใจและอุปสรรคใหญ่ในการดูแลสุขภาพของผู้ชายข้ามเพศ