ข้อมูลล่าสุด (ส.ค.66) อิสราเอลเป็นประเทศที่แรงงานไทยไปทำงาน (อย่างถูกกฎหมาย) มากเป็นอันดับสอง รองจากไต้หวัน โดยแรงงานภาคการเกษตรเป็นคนไทยเกือบทั้งหมด ซึ่งในช่วงก่อนปี 2537 แรงงานส่วนใหญ่ในอิสราเอลเป็นชาวปาเลสไตน์ แต่หลังจากที่กลุ่มติดอาวุธฮามาส และอิสลามิกจีฮัด โจมตีอิสราเอล รัฐบาลจึงหันไปเพิ่มโควต้า นำเข้าแรงงานจากต่างชาติแทน
หนังสือ "คนทำงานในร้านอาหาร ตัวตนที่พร่ามัวและเสียง (ร้อง) ที่ไม่มีใครได้ยิน" งานศึกษาและวิจัยของ ผศ. ดร.รุ่งนภา เทพภาพ เป็นงานสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มคนทำงานในร้านอาหาร ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่าได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จากสถานการณ์ดังกล่าวเช่นไร วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ เพื่อสำรวจสภาพความรู้เกี่ยวกับกลุ่มคนทำงานบริการในสถานประกอบการร้านอาหาร และ เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ ความเสี่ยง และความเปราะบางของกลุ่มคนทำงานบริการในสถานประกอบการร้านอาหาร โดยใช้การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมเอกสารวิชาการ ผลงานวิจัย เพื่อสังเคราะห์ข้อมูล หนังสือเล่มนี้ให้ภาพกลุ่มตัวอย่างที่สามารถนำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นทางออก เป็นเสียง ให้กับตัวตนของกลุ่มคนทำงานร้านอาหารต่อไป
จากกระแสภาพยนตร์ “คังคุไบ” ที่ได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวาง แม้จะเป็นโสเภณี แต่การพลิกชะตาชีวิตตัวเอง ขึ้นสู่อำนาจ ต่อสู้เพื่อสิทธิเด็กกำพร้า สตรี และผู้ที่ขายบริการทางเพศของนางเอกในเรื่อง จึงกลายเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจให้ผู้คน และชื่นชมในการต่อสู้ของเธอ แต่การยอมรับอาชีพนี้ในหลายประเทศ ก็ยังอยู่ในวงจำกัด ขณะที่อีกหลายประเทศไม่ได้รับการยอมรับ ย้อนกลับมาดูในประเทศไทย คุณภาพชีวิตของผู้ขายบริการทางเพศยังไม่ดี พวกเธอไม่มีรายได้ที่แน่นอน ไม่มีสวัสดิการใดในอาชีพ และยังเป็นอาชีพที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมส่วนหนึ่ง
มูลนิธิสวิงตั้งกองทุนเพื่อช่วยเพื่อนพนักงานบริการที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานบริการ โดยการจัดตรวจสุขภาพและแจกอาหาร นอกจากนี้ยังเห็นน้ำใจคนไทยที่พร้อมจะช่วยเหลือโดยไม่แบ่งแยกกลุ่มอาชีพ
สำรวจพบ อยู่บ้าน-ต้าน COVID-19 ทำสิทธิผู้หญิงถดถอย เพราะต้องกลับมารับบทหนักเรื่องงานบ้าน