คุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ครั้งนี้ชวนคุยกับ "อารยา ลาภชีวะสิทธิฉัตร (เจ้เล้ง)" เจ้าของร้านเจ้เล้งดอนเมือง กับการเปลี่ยนแปลงของการค้าขายตามยุคสมัย แนวทางการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของภาคธุรกิจ และประเมินสภาพเศรษฐกิจไทย ฟังได้ในรายการ คุยนอกกรอบ ค่ะ
เมื่อเอไอ (AI) เริ่มเข้ามามีบทบาทด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่าแรงงานที่เป็นมนุษย์คงต้องถูกแทนที่ด้วย AI เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ตอนนี้คุณปรับตัวกันหรือยัง ?
ตอนนี้มีหลายอาชีพที่เริ่มใช้ AI เป็นเครื่องมือในการช่วยทำงานแทนที่มนุษย์ สำหรับประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ หลายคนจึงยังไม่รู้จักหรือนำมาปรับใช้ในการทำงาน แต่ต่างประเทศ AI กลายเป็นเครื่องมือหรือตัวช่วยที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับตลาดแรงงาน จะทำอย่างไรเมื่อ AI เก่งขึ้นทุกวัน ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ รศ. ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
#คุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ครั้งนี้ชวนคุยกับ "มารีญา พูลเลิศลาภ" co-founder of SOS Earth มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ปี 2560 กับกิจกรรมรณรงค์เพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม แนวทางการปรับตัวเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ และความน่ากลัวของมหันตภัยด้านสิ่งแวดล้อม ฟังได้ในรายการ #คุยนอกกรอบ ค่ะ
คุยกันแบบสมมุติว่า กับ สุทธิชัย หยุ่น, วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ และแขกรับเชิญ กรุณา บัวคำศรี คุยเรื่องสมมุติ ถ้าถูกหักหลังกลางรายการ ! โดยมี AI เข้ามาแทนที่ จะเป็นอย่างไร ในรายการ #สมมุติว่า ในรูปแบบฟังฉบับ Podcast
"โลกใหม่" คำที่คุ้นหูในทุกแวดวงสังคม ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ต้องตื่นเต้น ตื่นตระหนก เพียงแต่หากทุกครอบครัว หรือทุกคนในสังคมพึงเข้าใจในบริบทโลกใหม่ที่เด็กต้องปรับตัวและรับมือเพื่อเรียนรู้ และเท่าทันว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพียงแต่แค่เข้าใจ พร้อมปรับและเปลี่ยนไปด้วยกันอย่างมีสติ
โลกการทำงานในปัจจุบันสำหรับเด็กยุคใหม่ เปลี่ยนไปมาก เทคโนโลยีก้าวกระโดดไปเร็วกว่าความคิดมนุษย์ การเข้าสู่สื่อต่าง ๆ ก็รวดเร็วเช่นกัน โอกาสในการค้นหาและเรียนรู้ก็มีมากกว่าผู้ใหญ่ที่เข้าไปทำงานก่อนก็เป็นได้ แต่เมื่อต้องทำงานร่วมกันระหว่าง ใครที่ต้องเป็นคนปรับตัวในเรื่องนี้
เมื่อบริบทในสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ รับรู้สิ่งใหม่ได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น จนบางครั้งผู้ปกครอง คุณครูแอบเป็นห่วงและกังวลในการปรับตัวของเด็ก แต่หากมองว่าแท้จริงแล้ว นั่นอาจเป็นธรรมชาติของเด็กที่ครูและผู้ปกครองต้องเข้าใจ
คุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ครั้งนี้ชวนคุยกับ "เกรียงไกร เธียรนุกุล" ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กับการยกระดับอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ปัญหาสินค้าจากต่างประเทศทะลักเข้าไทย และการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก จากคำกล่าวที่ว่า ไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าล้าสมัย ตอนนี้จริงอย่างที่ว่าหรือไม่
หลังการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสังคม ที่เห็นได้ชัดที่สุดอย่างหนึ่งคือ ลักษณะการทำงานของพนักงานและองค์กรที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นคือ แรงงานรุ่นใหม่ ไม่ได้มองหางานที่มีเพียงแค่เงินเดือนเท่านั้น แต่ยังต้องการงานที่มีหลักคิดตรงกัน มีความเคารพซึ่งกันและกัน รวมถึงมีช่องทางให้พวกเขาได้พัฒนาตัวเอง มากกว่าแค่การทำงานไปวัน ๆ แบบเช้าชามเย็นชาม จนมองไม่เห็นอนาคต
การเปลี่ยนแปลงให้องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับวิธีการทำงานและวัฒนธรรมภายในให้ตรงกับสิ่งที่แรงงานรุ่นใหม่ต้องการมากขึ้น เทรนด์องค์กรในการทำงานปี 2024 จะต้องมีแนวทางอย่างไรให้แรงงานรุ่นใหม่ มีใจและร่วมขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตไปด้วยกัน ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ คุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการสร้างแบรนด์นายจ้าง เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
- ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนทำงานในยุคปัจจุบันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราไม่ตกยุค
- บริษัทไมโครซอฟท์ ร่วมมือกับ OpenAi เพิ่มแป้นในคีย์บอร์ด เพื่อให้การใช้งาน AI ทำได้รวดเร็วมากขึ้น
