วิเคราะห์ เจาะลึก ข่าวเด่น ข่าวร้อน กับ สุทธิชัย หยุ่น, วีระ ธีรภัทร และ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ กับการวิเคราะห์ประเด็น
- จับตาบุคคลสำคัญ ที่เป็นจุดพลิกผันการเมืองไทย
- มิถุนายน เดือนแห่งความตึงเครียดทางการเมือง
- อ.วีระ แนะพรรคก้าวไกล เผยแพร่เอกสารคดีสู่สาธารณะ
- อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง "ทักษิณ ชินวัตร" คดี 112
- วิษณุ คัมแบ็ก
- วิษณุกลับสู่การเมือง ด้วยวัตถุประสงค์อะไร ?
- เพื่อไทยขัดแย้งกับใครตอนนี้ ?
หลังจากที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แล้ว เยาวชนคนรุ่นใหม่ในยุคนั้น ทั้งนักเรียนมัธยม นักศึกษาธรรมศาสตร์ และนิสิตจุฬาฯ มีความฝัน ความหวัง และทัศนะต่อระบอบประชาธิปไตย อันเป็นการปกครองระบอบใหม่ของประเทศอย่างไรบ้าง ร่วมหาคำตอบไปกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล ใจจริง มาพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้
24 มิถุนายน 2475 “คณะราษฎร” ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย นอกจากสมาชิกคนสำคัญอย่าง พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้เป็นหัวหน้า และสมาชิกที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายปรีดี พนมยงค์ คณะราษฎรยังมีสมาชิกที่น่าสนใจอีกหลายคน
ในวาระ 90 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รายการรอยจารึก…บันทึกสยาม ได้รับเกียรติจากคุณนริศ จรัสจรรยาวงศ์ ผู้เขียนหนังสือ “2475 ราษฎรพลิกแผ่นดิน” มาพูดความเป็นมาของคณะราษฎร พร้อมเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจซึ่งคุณนริศรวบรวมมาจากอนุสรณ์งานศพของสมาชิกคณะราษฎรและหนังสือเก่าเป็นจำนวนมาก
การเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ไม่ได้เริ่มต้นขึ้นที่คณะราษฎรเป็นกลุ่มแรก แต่มีความเคลื่อนไหวมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ผ่านคำกราบบังคมทูล ร.ศ. 103 ต่อมาเกิดกบฏ ร.ศ. 130 ในต้นรัชกาลที่ 6 จนมาเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จในรัชกาลที่ 7 นั่นเอง
ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กรรมการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พูดถึงกระแสธารของความคิดประชาธิปไตยและความคิดทางการเมืองในสังคมไทย ในวาระ 90 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475-2565