ห้องเรียนฟ้ากว้าง ชวนติดตามความท้าทายการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนของไทย ในช่วงสัปดาห์วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ เช่น ดำนาสร้างสรรค์ ปั้นฝันเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมเด็กปฐมวัยเรียนรู้วิถีชาวนา, ครูหนังตะลุงฝึกสอนเยาวชนใน จ.ตรัง สืบสานศิลปะการแสดงหนังตะลุงมรดกท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย, จ.มหาสารคาม เปิดศูนย์กลองยาว ส่งเสริมการเรียนรู้และเศรษฐกิจชุมชน และสถานการณ์เด็กไทยบวชเรียนมากขึ้น เนื่องจากหนีปัญหาความยากจน
คุยกันแบบสมมุติว่า กับ สุทธิชัย หยุ่น, วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ และแขกรับเชิญ ศิรัถยา อิศรภักดี พิธีกรผู้ดำเนินรายการด้านเศรษฐกิจและการลงทุน คุยเรื่องสมมุติ คนไทย "โคตรรวย"...!! แต่รวยที่ว่า ตอนนี้มีกี่เปอร์เซ็นต ในรายการ สมมุติว่า ในรูปแบบฟังฉบับ Podcast
คุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ครั้งนี้ชวนคุยกับ "ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ถึงความสำคัญของกองทุนเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา การปัญหาความยากจนในระบบการศึกษาไทย และความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับเศรษฐกิจ
สถานการณ์โลกที่กำลังจับตามองอยู่ในขณะนี้คือ สงครามการสู้รบระหว่าง อิสราเอลกับฮามาส ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในดินแดนฉนวนกาซา อิสราเอลเป็นหนึ่งในประเทศที่คนไทยนิยมเดินทางไปใช้แรงงาน เหตุการณ์นี้ทำให้คนไทยได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และถูกจับเป็นตัวประกัน แม้ที่ผ่านมาทั้ง 2 ดินแดนเกิดการสู้รบกันเรื่อยมา แต่ทำไมคนไทยยังนิยมไปใช้แรงงาน ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ รศ. ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
หนึ่งในสวัสดิการของรัฐที่ต้องการเข้าไปช่วยเหลือในการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อยหรือเสี่ยงต่อความยากจน เกี่ยวกับเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 ปี นั่นคือ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ที่รัฐจะช่วยเหลือคนละ 600 บาทต่อเดือน แต่ปัญหาที่ยังถกเถียงกันในสังคมคือ เงินนี้ควรให้เด็กทุกคนหรือให้เฉพาะกลุ่มคนยากจนเท่านั้น สำหรับเรื่องนี้ในต่างประเทศจัดการอย่างไร ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ เล่าเรื่องนี้ให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
- จีนกำลังเผชิญวิกฤตจำนวนประชากรลดลงซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนแต่งงานกันน้อยลง ทางการจีนจึงออกนโยบายจูงใจให้คนรีบแต่งงาน ทั้งเสนอเงินสดและอนุญาตให้ไปฮันนีมูนกันไปจนถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติ
- ธนาคารพัฒนาเอเชียชี้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 และวิกฤตอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงทำให้คนในเอเชียอยู่ในภาวะยากจนขั้นรุนแรง
มณฑลยูนนาน ประตูสู่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งในพื้นที่รัฐบาลจีนประกาศว่าแก้ปัญหาความยากจนได้สำเร็จ โดยทำให้พลเมืองกว่า 9 ล้านคน พ้นจากความยากจนได้สำเร็จ ลดการว่างงานลงถึง 5% แต่ความท้าทายคือทำอย่างไรจะรักษาสถานะนี้ไว้ได้ยั่งยืนที่สุด
โสภิต หวังวิวัฒนา ไปเยือนมณฑลยูนนานแล้วได้คุยกับคุณภาวีวรรณ นรพัลลภ กงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิงในเรื่องนี้ รวมทั้งภารกิจของทีมประเทศไทยเพื่อดูแลคนไทยในเมืองจีน พร้อมคำเตือนหญิงไทยที่ต้องการแต่งงานกับหนุ่มจีน เตรียมตัวและศึกษาข้อมูลล่วงหน้าให้ดีก่อนจะได้ไม่ผิดหวังหรือพบปัญหา
ชวนติดตามว่า จากพื้นที่ Land Lock ไม่ติดทะเล ขยายการคมนาคมขนส่งเชื่อมต่อทั้งทางบก ถนน อากาศและน้ำ ไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ในจีนและขยายสู่ตลาดต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างไร รวมทั้งการสร้างวิทยาลัยพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงานระบบรางเชื่อมจีน – ลาว
ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ละพรรคการเมืองมุ่งจัดทำนโยบายเพื่อให้เข้าถึงปัญหาและตรงใจกับประชาชนมากที่สุด หนึ่งในนโยบายที่หลายพรรคการเมืองสนใจเข้ามาแก้ไขปัญหานั้นคือ ปัญหาความยากจนและหนี้สิน แต่ทำไมเป็นเวลาหลายปีผ่านมาแล้ว ก็ยังไม่เห็นพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะแก้ไขปัญหานี้ได้เลย ตัวชี้วัดอะไรที่จะบอกว่านโยบายนั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รศ. ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เล่าเรื่องนี้ให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
ถ้าหากยาพาราเซตามอล คือยาสามัญประจำบ้านที่ทุกบ้านต้องมี แต่สำหรับ "จรงค์ศักดิ์ รองเดช" หรือ "สตังค์" พิธีกรจากรายการ "ภัตตาคารบ้านทุ่ง" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หนุ่มใต้จาก อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง บอกกับเราว่า ปลาหลังเขียวเค็ม คือปลาสามัญประจำบ้านที่จะต้องมีติดเอาไว้รับประทานเป็นประจำ
ปลาหลังเขียวเค็ม เป็นเมนูที่มีผลและบทบาทในการดำเนินชีวิตของครอบครัวรวมถึงตัวของสตังค์เป็นอย่างมาก จากพื้นฐานเศรษฐกิจของครอบครัวที่ยากจน ทำให้เมนูนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความทรงจำมากมายตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ยิ่งกินกับเหนียวหลบ (คล้าย ๆ กับข้าวเหนียวมูนทางภาคกลาง) บอกได้เลยว่า "หรอยอย่างแรงนิ" เรื่องราวของความอร่อยยังถูกส่งต่อไปกับการออกเดินทางตั้งแต่อายุ 13 ปี
การออกเดินทางตั้งแต่ครั้งนั้น สิ่งที่สตังค์ได้ค้นพบจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิต จนได้เป็นผู้ผลิตรายการให้กับสถานีโทรทัศน์ กับเส้นทางชีวิตที่ยังมีแรงให้เดินต่อไป สตังค์เล่าให้ฟังในรายการ Flavor of Hometown ค่ะ
ความมั่นคั่งที่เกิดขึ้นภายในช่องแคบมะละกา กลายเป็นสิ่งเย้ายวนให้กลุ่ม โจรสลัด รวมตัวกันออกล่าเรือประมงและเรือสินค้าที่ผ่านไปมา ที่เกาะเรียว ตั้งอยู่ในบริเวณช่องแคบสิงคโปร์ ซึ่งเป็นช่องแคบสาขาของช่องแคบมะละกา ภูมิประเทศบริเวณนี้เต็มไปด้วยเกาะแก่งน้อยใหญ่ ซุกซ่อนตัวอยู่ในท้องทะเล จึงเป็นที่หลบภัยและซ่อนตัวได้เป็นอย่างดีของเหล่าโจรสลัด
รายการ Spirit Along the Way เดินทาง ค้นหา และพูดคุยกับ "อเล็กซ์" เจ้าของโรงแรมบนเกาะ อดีตหัวหน้าโจรสลัดตัวจริง กับเรื่องราวและวิถีชีวิตการเป็นโจรสลัดรวมถึงเหตุผลที่หยุดการเป็นโจร
ความยากจนและไม่มีเงิน ทำให้ชีวิตต้องดิ้นรนอย่างไม่มีทางเลือกมากนักที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ปากท้องของเราและครอบครัวมีอยู่มีกิน จึงเป็นสาเหตุให้หนุ่มสาวจากภาคอีสานเข้ามาทำงานในเมืองกรุง เช่นเดียวกับครอบครัวของ "เอ้ - อัจฉรา คำมะณี" ที่พ่อกับแม่ต้องเข้ามาหางานทำที่กรุงเทพฯ โดยที่เอ้จะต้องอยู่กับตาและยายที่จังหวัดมหาสารคาม
เอ้เล่าว่า มีเมนูหนึ่งที่แม่ทำให้กินตั้งแต่เด็กก่อนไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตัวเองกินอาหารรสเผ็ดคือ ปลาดุกต้มปลาร้า เมนูที่บ่งบอกความเป็นคนอีสานได้อย่างชัดเจน ทั้งอร่อย แซ่บ และนัว เป็นเมนูที่คิดถึงอยากให้แม่ทำให้กินมากช่วงที่แม่ต้องจากบ้านไปทำงาน
ไม่เพียงแค่เรื่องอาหาร ยังมีเรื่องราวของชีวิตที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ แม้ปัจจุบันพ่อกับแม่ย้ายกับไปยังจังหวัดมหาสารคามแล้ว แต่ตัวของเอ้เองยังคงต้องใช้ชีวิตที่กรุงเทพฯ ต่อไป เรื่องราวและเบื้องหลังชีวิตของสาวมหาสารคามเป็นอย่างไร ฟังในรายการ Flavor of Hometown ค่ะ
ปัญหาความยากจนทำให้เด็กหลายคนไม่สามารถเรียนต่อได้และต้องออกจากระบบการศึกษา เพื่อทำงานหาเงินเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว "โรงเรียน" ถือว่ามีบทบาทสำคัญ ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเหล่านี้ หลุดออกจากระบบการศึกษาและสามารถเรียนต่อได้
โรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.กระนวน จ.ขอนแก่น จัดโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านฟุตบอลให้เด็ก ๆ ที่มีใจรักและมีแวว ได้มาเก็บตัวในแคมป์ฝึกทักษะร่วมกัน เพื่อก้าวเข้าสู่สโมสรนักเตะอาชีพและมีโอกาสเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งผลสำเร็จที่ผ่านมาอาจการันตีได้ จากนักเตะดาวรุ่งหลายคน ที่ตอนนี้เข้าไปเล่นระดับลีกอาชีพแล้ว
กรุงเทพมหานคร เริ่มคิกออฟสำหรับการคัดกรองเด็กยากจนและยากจนพิเศษ ทั้ง 50 เขต เพื่อจัดสรรเงินอุดหนุน แก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา และการให้ความรู้วิธีป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศภายในโรงเรียน ผ่านพฤติกรรมของบุคคลที่เคยก่อเหตุ เพื่อเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่วิทยากรนำมาสอนให้กับเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนเทพบดินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และรู้จักวิธีป้องกันตัวเอง หลังปัจจุบันพบว่า เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นที่ถูกพูดถึงในทุกยุคทุกสมัย คงหนีไม่พ้นในเรื่องของ การแก้จน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ใน ภาคการเกษตร ทำอย่างไรจึงจะให้คนกลุ่มนี้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำในการเพาะปลูก คือสาเหตุหนึ่งของ ความยากจน จริงหรือไม่ แล้วหน่วยงานภาครัฐจะมีโมเดลแก้จนที่เป็นรูปธรรมได้อย่างไรบ้าง ฟังประเด็นนี้กับ รศ. ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ปธ. กมธ. การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ใน เศรษฐกิจติดบ้าน
เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่า นิยามของ ความยากจน ของสังคมไทยคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างจากนิยามความยากจนของต่างประเทศ แล้วในหนึ่งคนมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเป็นคนยากจน รวมไปถึงทางภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือบุคคลกลุ่มนี้ในเชิงเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง ฟังได้ในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน
นักเศรษฐศาสตร์การศึกษากังวลว่า ในช่วงที่ COVID-19 ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ อาจต้องเลื่อนเปิดโรงเรียนออกไป ทำให้เด็กต้องเรียนรู้อยู่ที่บ้านด้วยตนเองเป็นเวลานาน อาจยิ่งเพิ่มภาวะการเรียนรู้ถอดถอย ขาดทักษะการเรียนรู้ ขาดประสบการณ์ เมื่อเทียบกับการเรียนในห้องเรียน
"iSEE 2.0" คือ ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่เก็บข้อมูลเด็กนักเรียน ซึ่งจะทำให้เห็นสถานการณ์การศึกษาในประเทศไทยบนฐานข้อมูลขนาดใหญ่ แสดงข้อมูลเด็กยากจน อยู่ที่ไหน มีปัญหาอะไร และควรช่วยเหลือเขาอย่างไรไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา
ข้อจำกัดในช่วง COVID-19 สร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพราะมีเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการเรียนรู้ เช่นการเรียนออนไลน์หรือการศึกษาทางไกล
ห้องเรียนฟ้ากว้าง ชวนติดตามความท้าทายการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนของไทย ในช่วงสัปดาห์วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ เช่น ดำนาสร้างสรรค์ ปั้นฝันเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมเด็กปฐมวัยเรียนรู้วิถีชาวนา, ครูหนังตะลุงฝึกสอนเยาวชนใน จ.ตรัง สืบสานศิลปะการแสดงหนังตะลุงมรดกท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย, จ.มหาสารคาม เปิดศูนย์กลองยาว ส่งเสริมการเรียนรู้และเศรษฐกิจชุมชน และสถานการณ์เด็กไทยบวชเรียนมากขึ้น เนื่องจากหนีปัญหาความยากจน
คุยกันแบบสมมุติว่า กับ สุทธิชัย หยุ่น, วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ และแขกรับเชิญ ศิรัถยา อิศรภักดี พิธีกรผู้ดำเนินรายการด้านเศรษฐกิจและการลงทุน คุยเรื่องสมมุติ คนไทย "โคตรรวย"...!! แต่รวยที่ว่า ตอนนี้มีกี่เปอร์เซ็นต ในรายการ สมมุติว่า ในรูปแบบฟังฉบับ Podcast
คุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ครั้งนี้ชวนคุยกับ "ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ถึงความสำคัญของกองทุนเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา การปัญหาความยากจนในระบบการศึกษาไทย และความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับเศรษฐกิจ
สถานการณ์โลกที่กำลังจับตามองอยู่ในขณะนี้คือ สงครามการสู้รบระหว่าง อิสราเอลกับฮามาส ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในดินแดนฉนวนกาซา อิสราเอลเป็นหนึ่งในประเทศที่คนไทยนิยมเดินทางไปใช้แรงงาน เหตุการณ์นี้ทำให้คนไทยได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต และถูกจับเป็นตัวประกัน แม้ที่ผ่านมาทั้ง 2 ดินแดนเกิดการสู้รบกันเรื่อยมา แต่ทำไมคนไทยยังนิยมไปใช้แรงงาน ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ รศ. ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
หนึ่งในสวัสดิการของรัฐที่ต้องการเข้าไปช่วยเหลือในการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อยหรือเสี่ยงต่อความยากจน เกี่ยวกับเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 ปี นั่นคือ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ที่รัฐจะช่วยเหลือคนละ 600 บาทต่อเดือน แต่ปัญหาที่ยังถกเถียงกันในสังคมคือ เงินนี้ควรให้เด็กทุกคนหรือให้เฉพาะกลุ่มคนยากจนเท่านั้น สำหรับเรื่องนี้ในต่างประเทศจัดการอย่างไร ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ เล่าเรื่องนี้ให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
- จีนกำลังเผชิญวิกฤตจำนวนประชากรลดลงซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนแต่งงานกันน้อยลง ทางการจีนจึงออกนโยบายจูงใจให้คนรีบแต่งงาน ทั้งเสนอเงินสดและอนุญาตให้ไปฮันนีมูนกันไปจนถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติ
- ธนาคารพัฒนาเอเชียชี้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 และวิกฤตอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงทำให้คนในเอเชียอยู่ในภาวะยากจนขั้นรุนแรง
มณฑลยูนนาน ประตูสู่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งในพื้นที่รัฐบาลจีนประกาศว่าแก้ปัญหาความยากจนได้สำเร็จ โดยทำให้พลเมืองกว่า 9 ล้านคน พ้นจากความยากจนได้สำเร็จ ลดการว่างงานลงถึง 5% แต่ความท้าทายคือทำอย่างไรจะรักษาสถานะนี้ไว้ได้ยั่งยืนที่สุด
โสภิต หวังวิวัฒนา ไปเยือนมณฑลยูนนานแล้วได้คุยกับคุณภาวีวรรณ นรพัลลภ กงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิงในเรื่องนี้ รวมทั้งภารกิจของทีมประเทศไทยเพื่อดูแลคนไทยในเมืองจีน พร้อมคำเตือนหญิงไทยที่ต้องการแต่งงานกับหนุ่มจีน เตรียมตัวและศึกษาข้อมูลล่วงหน้าให้ดีก่อนจะได้ไม่ผิดหวังหรือพบปัญหา
ชวนติดตามว่า จากพื้นที่ Land Lock ไม่ติดทะเล ขยายการคมนาคมขนส่งเชื่อมต่อทั้งทางบก ถนน อากาศและน้ำ ไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ในจีนและขยายสู่ตลาดต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างไร รวมทั้งการสร้างวิทยาลัยพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงานระบบรางเชื่อมจีน – ลาว
ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ละพรรคการเมืองมุ่งจัดทำนโยบายเพื่อให้เข้าถึงปัญหาและตรงใจกับประชาชนมากที่สุด หนึ่งในนโยบายที่หลายพรรคการเมืองสนใจเข้ามาแก้ไขปัญหานั้นคือ ปัญหาความยากจนและหนี้สิน แต่ทำไมเป็นเวลาหลายปีผ่านมาแล้ว ก็ยังไม่เห็นพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะแก้ไขปัญหานี้ได้เลย ตัวชี้วัดอะไรที่จะบอกว่านโยบายนั้นสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รศ. ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เล่าเรื่องนี้ให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
ถ้าหากยาพาราเซตามอล คือยาสามัญประจำบ้านที่ทุกบ้านต้องมี แต่สำหรับ "จรงค์ศักดิ์ รองเดช" หรือ "สตังค์" พิธีกรจากรายการ "ภัตตาคารบ้านทุ่ง" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หนุ่มใต้จาก อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง บอกกับเราว่า ปลาหลังเขียวเค็ม คือปลาสามัญประจำบ้านที่จะต้องมีติดเอาไว้รับประทานเป็นประจำ
ปลาหลังเขียวเค็ม เป็นเมนูที่มีผลและบทบาทในการดำเนินชีวิตของครอบครัวรวมถึงตัวของสตังค์เป็นอย่างมาก จากพื้นฐานเศรษฐกิจของครอบครัวที่ยากจน ทำให้เมนูนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความทรงจำมากมายตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ยิ่งกินกับเหนียวหลบ (คล้าย ๆ กับข้าวเหนียวมูนทางภาคกลาง) บอกได้เลยว่า "หรอยอย่างแรงนิ" เรื่องราวของความอร่อยยังถูกส่งต่อไปกับการออกเดินทางตั้งแต่อายุ 13 ปี
การออกเดินทางตั้งแต่ครั้งนั้น สิ่งที่สตังค์ได้ค้นพบจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิต จนได้เป็นผู้ผลิตรายการให้กับสถานีโทรทัศน์ กับเส้นทางชีวิตที่ยังมีแรงให้เดินต่อไป สตังค์เล่าให้ฟังในรายการ Flavor of Hometown ค่ะ
ความมั่นคั่งที่เกิดขึ้นภายในช่องแคบมะละกา กลายเป็นสิ่งเย้ายวนให้กลุ่ม โจรสลัด รวมตัวกันออกล่าเรือประมงและเรือสินค้าที่ผ่านไปมา ที่เกาะเรียว ตั้งอยู่ในบริเวณช่องแคบสิงคโปร์ ซึ่งเป็นช่องแคบสาขาของช่องแคบมะละกา ภูมิประเทศบริเวณนี้เต็มไปด้วยเกาะแก่งน้อยใหญ่ ซุกซ่อนตัวอยู่ในท้องทะเล จึงเป็นที่หลบภัยและซ่อนตัวได้เป็นอย่างดีของเหล่าโจรสลัด
รายการ Spirit Along the Way เดินทาง ค้นหา และพูดคุยกับ "อเล็กซ์" เจ้าของโรงแรมบนเกาะ อดีตหัวหน้าโจรสลัดตัวจริง กับเรื่องราวและวิถีชีวิตการเป็นโจรสลัดรวมถึงเหตุผลที่หยุดการเป็นโจร