เรื่องระหว่างเส้น ตอน “มาลัยเสี่ยงรัก” นำเสนอพฤติกรรมการเลือกคู่ในสื่อวรรณคดี มาจนถึงการประกาศหาคู่ในคอลัมน์ “มาลัยเสี่ยงรัก” ในหน้าหนังสือพิมพ์ และพัฒนามาเป็นเกมโชว์รายการโทรทัศน์ เช่น take me out, รู้ไหมใครโสด ล่าสุดเป็นแอปพลิเคชันในชื่อต่าง ๆ ในวรรณคดีไทยหลายเรื่องมีเนื้อหาตอนเลือกคู่ เช่น รามเกียรติ์ พระรามเลือกคู่ได้นางสีดา , ปฐมสมโพธิกถา เจ้าชายสิทธัตถะเลือกคู่ได้นางพิมพายโสธรา, สังข์ทอง นางรจนาเสี่ยงมาลัยเลือกเจ้าเงาะ มีประเด็นสำคัญชี้ให้เห็นว่า การเลือกคู่ครองเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาทุกชนชั้น
.
ฟังมุมมองของ ป้าตุ๋ย อายุ 65 ปี เล่าประสบการณ์จริงของผู้ที่เคยใช้แอปพลิเคชันหาคู่เพื่อเป็นอุทาหรณ์
สงครามผ่านไป ไม่มีคำว่าชนะหรือแพ้คงเหลือแต่ร่องรอยความบอบช้ำ ความสูญเสียทางจิตใจของทุกผู้ทุกฝ่าย นักรบที่กลับคืนสู่มาตุภูมิด้วยร่างไร้วิญญาณ นักรบร่างกายพิการ ทหารผ่านศึกผู้พ่ายแพ้ต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกใบใหม่ ภรรยาหม้ายที่สูญเสียสามีไปในสงคราม ลูกกำพร้าที่ไร้พ่อกลับมาเป็นเสาหลักของบ้าน
.
เพลงดนตรีวิถีอาเซียน ครั้งนี้ ส่งท้ายปฏิบัติการลูกทุ่งไทยสมัยสงครามเย็น ด้วยบทเพลงเกี่ยวกับทหารผ่านศึก เช่น ศรเพชร ศรสุพรรณ (ทหารพิการรัก) มนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทย (ทหารพิการใจ) สมหมายน้อย ดวงเจริญ (ทหารพิการรัก) สังข์ทอง สีใส (ทหารผ่านศึก) แสงสุรีย์รุ่งโรจน์ (สามเณรกำพร้า) ฉวีวรรณ ดำเนิน (หัวอกเมียทหาร) ยอดรัก สลักใจ (รางวัลนักรบ) ฯลฯ
นิสิตสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เสนอ Podcast รายการ Listen to lit scene hit literature เรื่อง สังข์ทอง ตอน พระสังข์หนีนางพันธุรัตน์ เมื่อพระสังข์รู้ความจริงว่าแม่ที่เลี้ยงตนมาตลอดไม่ใช่มนุษย์จึงเกิดความกลัวเลยหาจังหวะหนีนางพันธุรัตน์ นางพันธุรัตน์เมื่อรู้ว่าลูกหายไปก็ออกตามหาจึงได้ไปพบลูกที่เนินเขาพร้อมเกลี้ยกล่อมให้ลูกลงมาหาตนแต่ลูกก็ไม่ยอมลงมา นางเกลี้ยกล่อมอยู่นานจนนางสิ้นใจ
"รจนาสวนนะ พะสงข์ไม่รักหรอ" ละครสั้นที่ดัดแปลงจากวรรณคดีไทยเรื่องสังข์ทอง ผลงานจากนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะพาคุณฉุกคิดและเปิดมุมมองเรื่อง Beauty Privileges สิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม ผ่านตัวละครของนางรจนาและพระสังข์ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน