กฎหมายจีนกับสิทธิส่วนบุคคล ตอนที่ 2
จีนนำนวัตกรรมที่ทันสมัยหลายเรื่องมาใช้ในการกำกับดูแลพลเมืองและแก้ปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Face Recognition) และกล้องวงจรปิด CCTV กับข้อมูลส่วนตัวของประชาชนทำให้สามารถจัดการกับคนร้ายและอาชญากรได้จำนวนมาก
ขณะที่ยังคงมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับปัญหาการใช้ฐานข้อมูลที่อาจละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและเป็นข้ออ้างเพื่อจัดการกับผู้เห็นต่างทางการเมือง ส่วนรัฐบาลอ้างเหตุผลสำคัญคือต้องการป้องกันปัญหาอาชญากรรมหรือการกระทำผิดกฎหมายและเพื่อความมั่นคงของประเทศโดยเฉพาะการสื่อสารในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โสภิต หวังวิวัฒนา ชวน คุณตฤณ วุ่นกลิ่นหอม นายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทย, ที่ปรึกษาหอการค้าอิเล็กทรอนิกส์และคณะกรรมการการค้าข้ามแดนจีน มาทำความรู้จักกับกล้อง CCTV ประเภทต่าง ๆ ที่ถูกใช้เพื่อจับตาความเคลื่อนไหวของชาวจีน ซึ่งมีทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และด้านที่เป็นปัญหา จนนำมาสู่การออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อปกป้องและดูแลสิทธิของประชาชน รวมทั้งแนะนำเคล็ดลับ เทคนิคป้องกันการถูกแอบส่องกล้องในการไปพักค้างในโรงแรมต่างถิ่นด้วย
กฎหมายจีนกับสิทธิส่วนบุคคล ตอนที่ 1
จีนออกกฎล่าสุดโดยกระทรวงความมั่นคง ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถขอตรวจค้นและรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวน ซึ่งรวมทั้งข้อความสั้นทางมือถือ, อีเมล, ข้อความสั้น, การสนทนาแบบกลุ่มและเอกสารต่าง ๆ ภาพ ไฟล์เสียงและคลิปวิดีโอ แอปพลิเคชัน ตลอดจนบันทึกต่าง ๆ ทั้งของพลเมืองจีนและชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศจีนโดยไม่ต้องมีหมายตรวจค้น จะเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 ก.ค. 2567 นี้เป็นต้นไป
ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและการใช้เป็นข้ออ้างเพื่อจัดการกับผู้เห็นต่างทางการเมือง ขณะที่รัฐบาลอ้างเหตุผลสำคัญคือต้องการป้องกันปัญหาอาชญากรรมหรือการกระทำผิดกฎหมายและเพื่อความมั่นคงของประเทศโดยเฉพาะการสื่อสารในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โสภิต หวังวิวัฒนา ชวน ตฤณ วุ่นกลิ่นหอม นายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทย, ที่ปรึกษาหอการค้าอิเล็กทรอนิกส์และคณะกรรมการการค้าข้ามแดนจีน มาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับที่มาที่ไปของกฎหมายสำคัญ ๆ ซึ่งจีนบังคับใช้ รวมทั้งกฎหมายล่าสุดที่จะมีผลกับชาวต่างชาติและทุกคนที่เดินทางเข้าประเทศจีน หลัง 1 ก.ค. 67 นี้ด้วย