Thai PBS Podcast
Advance Search
ผลการค้นหา 47 รายการ
เรียงจาก

22
1
14 ส.ค. 67

ในทวีปแอฟริกา ปลาหมอคางดำ ถูกควบคุมปริมาณจากสัตว์ที่เป็นห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ แต่เมื่อมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมของไทยที่ไร้ศัตรูตามธรรมชาติจึงขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วไร้การควบคุม สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหน่วยงานภาคร้ฐที่มีความหละหลวมในการควบคุม รวมถึงการสั่งการที่ไม่มีประสิทธิภาพต่อผู้ที่ควรต้องรับผิดชอบ ในมุมผู้เชี่ยวชาญ อดีตคณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างไร รายการ #โรงหมอ

66
0
24 ก.ค. 67

 

  • เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในสหรัฐฯ นำเข้าปลาจากประเทศจีนหวังที่จะให้ปลาเหล่านี้ช่วยกำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำ จนก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของสัตว์และพืชต่างถิ่น หรือเอเลียน สปีชีส์ มานานกว่า 30 ปี
  • แนะธรรมเนียมปฏิบัติของชาวฝรั่งเศสรับโอลิมปิก 2024
68
2
15 ก.ค. 67

ครั้งหนึ่ง ราคายางพาราเคยสูงจนเกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้ แล้วก็ตกลงมาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันยังไม่สามารถดึงให้ราคาสูงเท่าครั้งนั้นได้อีกเลย แม้ยางพาราเป็นสินค้าส่งออกให้กับไทยมหาศาล และยังเป็นประเทศที่ส่งออกมากที่สุดในโลกอีกด้วย ตอนนี้โอกาสทองของยางพาราไทยในตลาดโลกเป็นเช่นไร ทั้งเรื่องราคาตลาด รายได้เกษตรกร ทิศทางการแปรรูป ฯลฯ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ คุณณกรณ์ ตรรกวีระพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ

7
0
24 พ.ค. 67

เราอาจได้ยินเรื่องพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวลมานานแล้ว แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลมากน้อยแค่ไหน และประโยชน์จากการผลิตไฟฟ้าด้วยเศษซากทางการเกษตรหรือชีวมวลนั้นมีอะไรบ้าง อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรไทยมีอาชีพเกษตรกรรม หากเรามุ่งผลิตไฟฟ้าจากเศษซากทางการเกษตรก็น่าจะเหมาะดีหรือไม่ และความท้าทายอะไรที่ต้องคำนึงถึงบ้าง  

 

มาหาคำตอบและตั้งขอสงสัยไปพร้อมกันกับ ชาคร เลิศนิทัศน์ (โบ้ท) และ ทรรศิกา สิงห์ตุ้ย (ใบหม่อน) ในรายการ สะอาดPodcast

ที่ปรึกษาข้อมูลวิชาการ: ดร.พิมพ์สุภา เกาะช้าง นักวิจัยสถาบันวิจัยพลังงาน

15
2
14 พ.ค. 67

จากข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาจากเครดิตบูโร พบว่า เกษตรกรไทยกว่า 90% มีหนี้สินเฉลี่ยมากกว่า 450,000 บาทต่อครัวเรือน และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในรอบ 9 ปี หนี้สินโตถึง 75% ภาครัฐจึงออก นโยบายพักหนี้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งนโยบายนี้ทำมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง แต่ทำไมเกษตรกรไทยยังเป็นหนี้เหมือนเดิมแถมเพิ่มขึ้นอีก สาเหตุอะไรที่ทำให้นโยบายนี้เกษตรกรหนีหนี้ไม่รอด ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ

34
2
13 พ.ค. 67

การเติบโตของบริษัทในยุคสมัยนี้ต้องยอมรับว่า บริษัทที่ทำทางด้านเทคโนโลยี มีอัตราการเติบโตเป็นอย่างมาก โดยบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาที่ทำกำไรสูงที่สุด 7 อันดับ ล้วนเป็นทำด้านเทคโนโลยีทั้งสิ้น สำหรับประเทศไทยตอนนี้ยังย่ำอยู่กับธุรกิจเดิม ๆ เช่น การท่องเที่ยว รับจ้างผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ค้าขายสินค้าเกษตร ส่วนประเทศเวียดนามอีกไม่นานอัตราการเติบโตจะแซงหน้า ไทยกำลังจะแข่งขันกับใครไม่ได้จริง ๆ หรือ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ ริชาร์ด วัชราทิตย์ เกษศรี เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ

15
0
26 เม.ย. 67

คุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ครั้งนี้ชวนคุยกับ "ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช" อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ถึงภารกิจสำคัญของ กรมโลกร้อน เป้าหมายของไทยในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสถานการณ์โลกเดือดที่มวลมนุษยชาติกำลังเผชิญ

23
0
23 ม.ค. 67

ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ด้วยจำนวนประชากรส่วนใหญ่ที่มีประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวนผลไม้ หรือแม้แต่การเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกับต่างประเทศ แต่ทำไมผลผลิตทางการเกษตรของไทยกลับไม่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากนัก การยกระดับสินค้าเกษตรเป็นอีกทางหนึ่งที่เข้าไปช่วยให้ผลผลิตและสินค้าได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่กลไกอะไรที่เข้าไปช่วยเหลือและมีความให้ยั่งยืน ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ คุณภานุศักดิ์ สายพานิช ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ

27
1
18 ม.ค. 67

หนังสือ #ทุนนิยมอาหาร กับขบวนการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอาหารและภาคเกษตร นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับระบบอาหารและความสัมพันธ์กับผู้คนในฐานะผู้บริโภค ว่าอาหารในชีวิตประจำวันสัมพันธ์กับระบบนิเวศ สภาวะอากาศ ประวัติศาสตร์ ชนชั้น สีผิว รายได้ ฯลฯ รวมถึงขบวนการเคลื่อนไหว อาทิ ขบวนการเกษตรกรรมทางเลือก ขบวนการสโลว์ฟู้ด ขบวนการความยุติธรรมทางอาหาร อธิปไตยทางอาหารท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ประเด็นต่าง ๆ ในหนังสือเป็นการสร้างทางเลือกที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนทางอาหารและการสร้างความตระหนักรู้ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาจากของต่างประเทศ

ผศ.ดร.สร้อยมาศ รุ่งมณี อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียน #ทุนนิยมอาหาร ร่วมพูดคุยใน #หลบมุมอ่าน ถึงระบบทุนนิยมอาหารที่ยั่งยืน ดีต่อสุขภาพ ยุติธรรม และเป็นประชาธิปไตย

14
0
29 พ.ย. 66

ปัญหาราคาน้ำตาลที่มีการปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลก สร้างความกังวลให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำตาลตั้งแต่ต้นทาง โดยเฉพาะผู้บริโภคที่จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามราคาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ปัญหานี้มีแนวทางการแก้ไขหรือมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอย่างไรที่ไม่ทำให้คนไทยเสียเปรียบ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการตลาดสินค้าเกษตร เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ

กำลังโหลด
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป