สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค (ISEAS-Yusof Ishak Institute) ประเทศสิงคโปร์ ได้เปิดเผยผลการสำรวจประจำปี โดยระดับความไว้วางใจของชาติอาเซียนที่มีต่อประเทศญี่ปุ่น ได้แซงหน้าสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย และสหภาพยุโรป (อียูป) สิ่งนี้เริ่มจากปี 1977 ในการประชุมผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่น มีการประกาศ "หลักนิยมฟุกุดะ" ในระหว่างที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเดินสายเยือนมิตรประเทศอาเซียน หลักการสำคัญคือ ญี่ปุ่นจะไม่เป็นมหาอำนาจทางทหาร สร้างความสัมพันธ์แบบ “ใจถึงใจ” หลักการนี้ส่งผลต่อการลงทุนของญี่ปุ่นในภูมิภาคนี้อย่างไร ทำไมญี่ปุ่นเป็นประเทศที่อาเซียนไว้ใจมากที่สุด แซงหน้าประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไต - ไท ในดินแดนเอเชียอาคเนย์ ทางตอนใต้ของจีน และต่างตะวันออกของอินเดีย มีความเชื่อเกี่ยวกับผีบ้านผีเมืองไปในทิศทางเดียวกัน นั่นทำให้คนในกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือญาติ
ในพื้นที่เอเชียอาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในยุคที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดน และยังคงเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ รัฐอาณาจักรเขมร เป็นตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดในการทำกัลปนา โดยพระมหากษัตริย์อาณาจักรเขมรในขณะนั้นนิยมสร้างเทวสถานขึ้น เมื่อสร้าแล้วจะมีการกัลปนา ทั้งที่ดินโดยรอบ สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ และทาส เพื่อปฏิบัติรับใช้ภายในเทวสถานและทำไร่นาเพื่อบำรุงนักบวชและส่งกลับไปยังพระนคร แต่การสร้างวัดเป็นจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาได้เช่นที่เมืองพุกาม (เมียนมา) มีการสร้างวัดและเจดีย์จำนวนมาก จนทำให้พระสงฆ์ร่ำรวยกว่าพระมหากษัตริย์ ทำให้ต้องออกพระราชบัญญัติริบทรัพย์คืนท้องพระคลัง เนื่องจากทรัพย์ในท้องพระคลังหมดเกลี้ยง

