ข่าวการปรับลดหรือปลดพนักงานเมื่อบริษัทเริ่มประสบปัญหาทางธุรกิจบางอย่าง โดยเฉพาะเรื่องเงินทุนจากการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัว มีให้เห็นจากสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง การปลดมักเป็นระดับพนักงานปฏิบัติงาน จึงกลายเป็นข้อสงสัยว่า ทำไมกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่ถูกจ้างเพื่อมากำหนดทิศทางการดำเนินงานของบริษัท นอกจากไม่ถูกปลดแล้ว ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม รับเงินเดือนเท่าเดิมอีก ความยุติธรรมอยู่ตรงไหน ทำไมบริษัทจึงเลือกปลดพนักงานก่อนผู้บริหาร ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ ริชาร์ด วัชราทิตย์ เกษศรี เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
สมมุตินะครับสมมุติ ... สมมุติว่า ถ้านายกฯ ปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ !! คุยกันแบบสมมุติว่า กับ สุทธิชัย หยุ่น, วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ และแขกรับเชิญ สรกล อดุลยานนท์ หรือ "หนุ่ม เมืองจันท์" ในรายการ #สมมุติว่า
เวลาที่มีปัญหาเรามักต้องการใครสักคนคอยฟังหรือระบายในสิ่งที่รู้สึกอัดอั้น เพื่อให้ความรู้สึกที่จมอยู่ในขณะนั้นดีขึ้น แม้ปัญหาที่เจออาจไม่ได้หายไปแต่อย่างน้อยก็ยังมีคนรับฟัง ซึ่งนักจิตวิทยาก็เป็หนึ่งในกลุ่มคนที่คอยฟังและพร้อมให้คำปรึกษาหรือทางออกที่ดีได้
จากประสบการณ์ของนักจิตวิทยาพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่คนมักเจอในชีวิตคือ ความรัก ครอบครัว การทะเลาะกับเพื่อน คนที่ไว้ใจหักหลัก สูญเสียคนสำคัญในชีวิต ถูกข่มขู่คุกคามหรืออยู่เหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงถูกเลิกจ้าง ตกงาน หรือถูกไล่ออก มีปัญหาการเงิน หนี้สิน มีปัญหาจากเพื่อนร่วมงาน เจอเหตุการณ์ผิดหวังบ่อย ๆ โดยเฉพาะการถูกเลื่อนขั้นให้ไปทำตำแหน่งที่กดดันมากขึ้นจนเกิดภาวะทางอารมณ์บางอย่าง และการถูกดองไม่ได้เลื่อนขั้น ก็เป็นปัญหาที่มักพบเจอได้บ่อย
จากปัญหาและเรื่องราวในชีวิตที่เกิดขึ้น การแกะรอยปัญหาของศาสตร์จิตวิทยาช่วยอะไรให้ชีวิตมีทางเดินต่อไปได้บ้าง รายการ #โรงหมอ
กำหนดไว้ในมาตรา 118 ของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2542 ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องได้รับ หากนายจ้างไม่จ่ายให้ครบ ช่องทางที่จะให้ลูกจ้างเรียกร้องสิทธิที่ได้รับเงินจากนายจ้างทำได้ในการฟ้องคดี หรือการเริ่มต้นกระบวนการที่ศาลแรงงานนั้นจะมีด้วยกัน 2 วิธี คือ
1.ทำคำฟ้องเป็นหนังสือไปยื่นด้วยตัวเอง เมื่อไปที่ศาลแรงงาน จะมีเจ้าหน้าที่ศาลทำหน้าที่เป็นผู้รับเรื่อง ให้คำปรึกษาข้อกฎหมาย รวมไปถึงเขียนคำฟ้องในคดีแรงงานให้กับลูกจ้างโดยถือเป็นบริการของศาลโดยลูกจ้างไม่ต้องจ้างทนายความเอง และเมื่อเจ้าหน้าที่ศาลจัดทำคำฟ้องให้เสร็จ ก็สามารถยื่นคำฟ้องต่อเจ้าหน้าที่ศาลเพื่อเริ่มดำเนินคดีได้เลย
2.ฟ้องคดีโดยการแถลงด้วยวาจาต่อศหน้าศาลโดยตรง แล้วให้ศาลเป็นผู้จดบันทึกข้อเท็จจริงตามที่ฟ้องไว้ หลังจากที่ฟ้องคดีต่อศาล และศาลแรงงานรับฟ้องคดีเรียบร้อยแล้ว ศาลจะนัดให้โจทก์ (ลูกจ้าง) และนายจ้างมาที่ศาลในนัดแรก และศาลแรงงานจะทำการไกล่เกลี่ยคดีก่อน หากไกล่เกลี่ยคดีแล้วพบว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยกันได้ คดีก็เป็นอันจบลง แต่ถ้าไกล่เกลี่ยไม่ได้ ศาลก็จะนัดโจทก์ และจำเลยให้นำพยานมาเบิกความต่อไป
กระบวนการสืบพยานของศาลแรงงาน เป็นศาลระบบไต่สวน เหมือนกับศาลปกครอง คือ ศาลจะเข้ามามีบทบาทในการแสวงหาข้อเท็จจริงเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับลูกจ้างมากจนเกินไป ศาลจะเรียกพยานทั้งฝ่ายโจทก์ (ลูกจ้าง) และนายจ้าง มาเบิกความเองได้ โดยศาลจะเป็นผู้สอบถามพยานด้วยตัวเอง ทนายความจะสามารถถามความได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากศาลเท่านั้น ในคดีที่ขึ้นศาลแรงงาน ลูกจ้างจึงมีทางเลือกที่จะไม่จ้างทนายความมาช่วยทำคดีเลยก็ได้ เมื่อทำการสืบพยานเสร็จแล้ว ถือว่าการพิจารณาคดีเป็นที่สิ้นสุดลง หลังจากนั้นศาลจะนัดฟังคำพิพากษา หากลูกจ้าง หรือนายจ้างไม่พอใจคำพิพากษาสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาได้ แต่จะอุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมายเท่านั้น และหากยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคดีเข้าเงื่อนไขเป็นคดีสำคัญก็สามารถยื่นขอฎีกาคำพิพากษาคดีได้เหมือนกับกระบวนการในคดีทั่วไป
- สายการบินไล่นักบินชาวนิวซีแลนด์ที่แพร่เชื้อโควิด-19 ออก
- ไต้หวันปรับสายการบิน 1 ล้านบาท
- สหรัฐฯ ส่อแววฉีดวัคซีนไม่ได้ตามเป้า
- กว่าครึ่งหนึ่งของชาวจีนมีภาวะน้ำหนักเกิน