กำหนดไว้ในมาตรา 118 ของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2542 ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องได้รับ หากนายจ้างไม่จ่ายให้ครบ ช่องทางที่จะให้ลูกจ้างเรียกร้องสิทธิที่ได้รับเงินจากนายจ้างทำได้ในการฟ้องคดี หรือการเริ่มต้นกระบวนการที่ศาลแรงงานนั้นจะมีด้วยกัน 2 วิธี คือ
1.ทำคำฟ้องเป็นหนังสือไปยื่นด้วยตัวเอง เมื่อไปที่ศาลแรงงาน จะมีเจ้าหน้าที่ศาลทำหน้าที่เป็นผู้รับเรื่อง ให้คำปรึกษาข้อกฎหมาย รวมไปถึงเขียนคำฟ้องในคดีแรงงานให้กับลูกจ้างโดยถือเป็นบริการของศาลโดยลูกจ้างไม่ต้องจ้างทนายความเอง และเมื่อเจ้าหน้าที่ศาลจัดทำคำฟ้องให้เสร็จ ก็สามารถยื่นคำฟ้องต่อเจ้าหน้าที่ศาลเพื่อเริ่มดำเนินคดีได้เลย
2.ฟ้องคดีโดยการแถลงด้วยวาจาต่อศหน้าศาลโดยตรง แล้วให้ศาลเป็นผู้จดบันทึกข้อเท็จจริงตามที่ฟ้องไว้ หลังจากที่ฟ้องคดีต่อศาล และศาลแรงงานรับฟ้องคดีเรียบร้อยแล้ว ศาลจะนัดให้โจทก์ (ลูกจ้าง) และนายจ้างมาที่ศาลในนัดแรก และศาลแรงงานจะทำการไกล่เกลี่ยคดีก่อน หากไกล่เกลี่ยคดีแล้วพบว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงเรื่องการจ่ายค่าชดเชยกันได้ คดีก็เป็นอันจบลง แต่ถ้าไกล่เกลี่ยไม่ได้ ศาลก็จะนัดโจทก์ และจำเลยให้นำพยานมาเบิกความต่อไป
กระบวนการสืบพยานของศาลแรงงาน เป็นศาลระบบไต่สวน เหมือนกับศาลปกครอง คือ ศาลจะเข้ามามีบทบาทในการแสวงหาข้อเท็จจริงเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับลูกจ้างมากจนเกินไป ศาลจะเรียกพยานทั้งฝ่ายโจทก์ (ลูกจ้าง) และนายจ้าง มาเบิกความเองได้ โดยศาลจะเป็นผู้สอบถามพยานด้วยตัวเอง ทนายความจะสามารถถามความได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากศาลเท่านั้น ในคดีที่ขึ้นศาลแรงงาน ลูกจ้างจึงมีทางเลือกที่จะไม่จ้างทนายความมาช่วยทำคดีเลยก็ได้ เมื่อทำการสืบพยานเสร็จแล้ว ถือว่าการพิจารณาคดีเป็นที่สิ้นสุดลง หลังจากนั้นศาลจะนัดฟังคำพิพากษา หากลูกจ้าง หรือนายจ้างไม่พอใจคำพิพากษาสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาได้ แต่จะอุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมายเท่านั้น และหากยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคดีเข้าเงื่อนไขเป็นคดีสำคัญก็สามารถยื่นขอฎีกาคำพิพากษาคดีได้เหมือนกับกระบวนการในคดีทั่วไป